วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เตรียมตัวงานสัปดาห์วิทย์

ในปีนี้กำลังหาเทคโนโลยีที่น่าสนใจเพื่อนำไปใช้จัดนิทรรศการ เลยไปค้นหาดูเจอเว็บที่น่าสนใจดังนี้

http://www.teachingcollegemath.com/
http://tcmtechnologyblog.blogspot.com

ก็เลยบันทึกเอาไว้ก่อนกันลืม

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551

สูตร sin(A+B)

เนื่องจากคาดไม่ถึงว่า น.ศ.บางแผนกมีความรู้เรื่องจำนวนเชิงซ้อนแล้ว จึง pass ไปยังพิกัดเชิงขั้วเลย

ที่ติดเรื่องผลบวกของมุม มีวิธีการพิสูจน์ที่นี่ครับ

http://www.phy6.org/stargaze/Strig5.htm

เดี๋ยวจะนำไปพิสูจน์ให้ดูในห้องต่อไป (สำหรับสาขาคอมฯ รอบบ่าย สาขาอื่นอยากได้ก็ post มาครับ)

วิธีดำเนินการเบื้องต้นกับแถว

เนื่องจากว่าบางห้อง อาจารย์ไม่ได้อธิบายที่มาที่ไป และบางห้องก็อธิบายไม่รู้เรื่อง ด้วยความด้อยประสบการณ์ของอาจารย์เอง
อาจารย์ขอรับรองว่าคราวหน้าจะปรับปรุงให้ดีขึ้น

จริง ๆ แล้วการดำเนินการเบื้องต้นกับแถว ก็มีที่มาแบบเดียวกับที่เราเคยใช้แก้ระบบสมการ 2 ตัวแปรที่มี 2 สมการ
เพียงแค่เราเอาเมตริกซ์มาใช้เพื่อลดความซับซ้อนของตัวแปรลง
จุดประสงค์ของการใช้ matrix ก็เพื่อการแก้ระบบสมการเชิงเส้นที่ดูยุ่งยาก ให้มันง่ายขึ้น(รึเปล่า)
ทีนี้รายละเอียดของมันมีที่มาดังนี้ครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Gaussian_elimination

ถ้ามีเวลาจะแปลให้อีกที (เอาไว้ซ่อมคนจะตกให้แปลมาจะดีกว่ามั้ย)

เวทคณิต - คณิตศาสตร์ในคัมภีร์พระเวท

ตอนแรกว่าจะอธิบายการแก้ปัญหาของระบบสมการเชิงเส้นด้วยวิธีดำเนินการเบื้องต้นกับแถวว่ามีความสัมพันธ์กับระบบสมการอย่างไร
แต่สอนไปและให้ทำแบบฝึกหัดพบว่า มีปัญหาพื้นฐานในการคำนวณเลข เช่น บวก, ลบ, คูณ, หาร, บวกลบ เศษส่วน,
ดังนั้นจึงเขียนเกี่ยวกับคัมภีร์โบราณของอินเดีย ว่าด้วยเรื่องการคำนวณ คือ เวทคณิต ครับ
ผมมีหนังสืออยู่ 1 เล่ม ซึ่งรวมพื้นฐาน 16 สูตร ประโยชน์คือ คำนวณได้เร็วกว่าวิธีที่เราเคยใช้กัน
และเป็นการฝึกสมองด้วย

มีคนกล่าวเกี่ยวกับเวทคณิตดังนี้ครับ
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=39566

http://dsin.blogspot.com/2008/05/vedic-mathematics-example.html

http://www.chulabook.com/cgi-bin/main/2007/description.asp?barcode=9789749444115

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551

โจทย์ปัญหาการแก้ระบบสมการเชิงเส้น

ให้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ทำ exercise 2
กลุ่มที่ 2 ทำ exercise 3
กลุ่มที่ 3 ทำ exercise 4
อ่านทำความเข้าใจแล้ว อ. จะมาถามในห้อง
http://www.intmath.com/Matrices-determinants/6_Matrices-linear-equations.php

การคูณเลขด้วยการวาดภาพ

พอดีอ่าน blog เจอที่มาจากตรงนี้ครับ น่าสนใจมาก
http://gotoknow.org/blog/lan-maths/82038

ถ้าใครสนใจว่าคิดยังไงนำไปถามในห้องได้ครับ

ประวัติของ Crammer

เชิญส่งทางนี้เลยครับ

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การบวกเลขเร็ว

ไปเจอ link นี้มาครับ
http://gotoknow.org/blog/rach23/135191

ตอนตรวจการบ้านก็อยากทดสอบ power ตัวเองเหมือนกันครับ
ลองโจทย์ matrix 30 กว่าข้อ ทำโดยไม่ใช้เครื่องคิดเลข มันต้องหาวิธีคำนวณให้ทันเวลาให้ได้ครับ

ผมใช้วิธีจับคู่เลข 10 เช่น 9+6 เรารู้ว่า 9 คู่กับ 1จึงดึงจากเลข 6 มา 1 จึงตอบ 15 ได้อย่างรวดเร็ว หรือ 999+56 ก็ดึง 56 มา 1 ให้เหลือ 55 ข้อนี้จึงตอบ 1055

ผมเห็นด้วยครับว่าการคิดเลขเร็วเป็นการพัฒนาสมองอย่างนึง
ดังนั้น ก็เลยคิดเองซะเลยโดยไม่ยอมใช้เครื่องคิดเลขและคอมพิวเตอร์ (จะได้ไม่โง่ไง อิอิ)

เพลงที่ประทับใจ

ชอบมากครับเพลงนี้ ลองเข้าไปฟังดูได้ที่นี่ครับ
http://www.metacafe.com/watch/543259//

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เจอแล้วสังคมของผู้สอน

อดีตเคยเข้าศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ จาก http://www.narisa.com/
ตอนนี้ http://gotoknow.org/ ก็น่าสนใจดีนะครับ
แต่ยังไม่เจอบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เลย
ใครเจอช่วยบอกด้วยนะครับ

เหตุจูงใจในการสร้างบล็อกนี้

เนื่องจากเมื่อวาน (18 มิ.ย. 51) ได้หลงห้องและหลงตึกเพราะไม่ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงห้องสอน
(เป็นอาจารย์ใหม่เริ่มสอนอาทิตย์ที่ 2 วันที่ 3 ก็แบบนี้แหละ)
จึงต้องวิ่งข้ามอาคาร เพื่อที่จะไปสอนให้ทันเวลา
ด้วยความมึนงงเพราะวิ่งร้อยเมตร โดนถามการบ้านเลยโซโล่ไปครึ่งชั่วโมงถึงนึกขึ้นได้ว่าต้องสอนตามเนื้อหาที่วางไว้
จึงต้องเร่งสปีดรอบ 2 สรุปแล้ว งงทั้งผู้สอนผู้เรียน

กลับมานั่งคิด ทำไงดี เด็กถามการบ้าน
เฉลยในห้อง... สอนไม่ทันแน่
รอเด็กมาถามที่ห้องพัก... ไม่รู้ว่าจะว่างตรงกันมั้ย (ขึ้วิตกเกินไปเปล่าเนี่ย)

เอาแบบนี้แล้วกัน เฉลยบนเน็ตซะเลย จะได้แถมการบ้านไว้บนนี้ซะด้วย (ถ้าทำผิดก็ประจานตัวเองต่อหน้าสาธารชนเลย T_T)

คิดกระนั้นแล้ว จึงเปิดบล็อกขึ้นสด ๆ (ซะงั้น) น่าจะได้อานิสงค์หลายประการ
1. ตอบการบ้าน
2. ให้การบ้านเพิ่ม (ลืมเอาการบ้านติดมือไปด้วยประจำ อิอิ)
3. ใส่ความรู้เพิ่มเติมได้
4. เด็กได้รู้จักใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาด้วยในตัว

หากบทความต่อจากนี้มีลักษณะที่ว่า บ๊องส์ๆ บวมๆ เกินกว่าสถานะที่เป็นอาจารย์ ก็ขออภัยทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย